ช่างศิลปหัตถกรรมดั้งเดิม
ทานิโอกะ โทชิฟูมิ
ในบรรดาเทคนิคต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย เขาได้คุ้นเคยกับเทคนิค “โรอิโรนูริ” เป็นพิเศษ และในขณะที่กำลังขัดเกลาทักษะต่างๆ ที่ได้สืบทอดต่อมาอยู่นั้น เขาก็ได้คิดค้นเทคนิคใหม่ที่ชื่อว่า “ซุยอุนนูริ” ขึ้นมาด้วยตนเอง
จากผลงานสร้างสรรค์มากมายเช่นผลงานดังที่ได้กล่าวไปนั้น ทำให้เขาได้รับ ‘รางวัลช่างฝีมือระดับปรมาจารย์ของจังหวัดวากายามะ’ ในปีเฮเซที่ 25 (ปี 2013) จากประสบการณ์และทักษะที่ได้ขัดเกลาจนเชี่ยวชาญของเขา ทำให้ยังคงรักษา “ความดั้งเดิมที่แท้จริง” ได้เรื่อยมา
ประวัติส่วนตัว
สาขาที่รับรอง
สาขาการเคลือบทา
ปีที่รับรอง
ปีเฮเซที่ 8 (ปี 1996)
เทคนิคที่เชี่ยวชาญ
การผลิตชิ้นงานด้วยวิธีต่างๆ เช่น การเคลือบทาด้วยวิธีโรอิโระนูริ, เนโกโระนูริที่สร้างลวดลายด้วยการขูดด้วยถ่านไม้, อาเกโบโนะนูริ และซุยอุนนูริ
ผลงานที่สำคัญ
เครื่องเคลือบที่ตัวชิ้นงานใช้เครื่องกลึงทำขึ้น เช่น แจกันดอกไม้, ถ้วยชาม และภาชนะใส่ขนม โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า เนโกโระนูริที่สร้างลวดลายด้วยการขูด, อาเกโบโนะนูริ, ซุยอุนนูริ และเทคนิคอื่นๆ
กระบวนการในการทำงาน
1.วัสดุไม้
ตากวัสดุไม้ให้แห้งตามธรรมชาติเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี
2.ฐานชิ้นงาน
ทำฐานชิ้นงานให้แข็งตัวด้วยซาบิอูรูชิ
3.การเคลือบทาชั้นกลาง
ใช้แปรงทาแลคเกอร์ชั้นกลางทั่วชิ้นงาน
4.การเคลือบทาชั้นบน
ใช้แปรงทาแลคเกอร์ชั้นบนที่มีคุณภาพดีที่สุดอย่างระมัดระวังโดยไม่ให้มีรอยปัดหรือผงฝุ่นติดอยู่
5.การขูด
ใช้ถ่านสีดำขูดออกเพื่อทำให้แลคเกอร์สีดำที่อยู่ชั้นกลางเป็นลวดลาย
6.ซูริอูรูชิ
ใช้ผ้าทาซูริอูรูชิบางๆ หลายรอบ
7.เสร็จสมบูรณ์
แนะนำผลงาน
ฮายาชิ คัตสึฮิโกะ
สิ่งที่คุณฮายาชิให้ความสนใจในการนำมาเป็นวัสดุคือผลิตภัณฑ์ที่ปลูกในผืนดินของวากายามะ เช่น “ส้ม” และ “น้ำเต้า” เขาได้สร้างสรรค์สิ่งที่น่าสนใจของวากายามะต่างๆ ออกมามากมายด้วยการใช้เทคนิคการทำเครื่องเขินโดยใช้วัสดุเหล่านั้น
จากวัสดุในท้องถิ่นที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีได้เปลี่ยนรูปไปเป็นศิลปหัตถรรมดั้งเดิมที่งดงาม ในวันนี้คุณฮายาชิยังคงค้นหาความเป็นไปได้ของเครื่องเขินคิชูต่อไป ด้วยความคิดที่ตรึงตราอยู่ในใจที่ว่า ‘สร้างสรรค์เครื่องเขินใหม่ๆ ให้กับคนที่ดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบัน’
ประวัติส่วนตัว
สาขาที่รับรอง
สาขาการตกแต่งลวดลาย
ปีที่รับรอง
ปีเฮเซที่ 19 (ปี 2007)
เทคนิคที่เชี่ยวชาญ
การทำลวดลายด้วยการโรยผงทุกรูปแบบ เช่น การทำลวดลายบนตู้ไม้คิริ การทำลวดลายด้วยวิธีที่เรียกว่าทากามากิเอะ และการทำลวดลายด้วยวิธีที่เรียกว่าฮิรามากิเอะ
ผลงานที่สำคัญ
กล่องเบ็นโตะ, ตะเกียบ, ภาชนะ (เช่น จอกเหล้า ชามใบเล็ก จานใบเล็ก) และอื่นๆ
ภาพบรรยากาศในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (การทำลวดลายด้วยการโรยผง)
1.ร่างภาพหรือลวดลาย
วาดรูปหรือลวดลายลงบนเครื่องเขินที่ลงแลคเกอร์แล้ว ในกรณีที่ผลิตลวดลายเดียวกันเป็นจำนวนมาก จะวาดภาพร่างลงบนกระดาษแล้วลอกลวดลายลงบนเครื่องเขิน
2.ลงลวดลาย
ลงแลคเกอร์ตามภาพร่าง แลคเกอร์นี้ จะทำหน้าที่เป็นกาวที่ทำให้ผงติดกับพื้นผิวของตัวเครื่องเขินในตอนที่ใส่ผงสี เช่น ผงสีทอง ลงไปในภายหลัง
3.โรยผง
ทำให้รูปและลวดลายที่วาดดูลอยขึ้นด้วยการโรยผงสีลงไปในขณะที่แลคเกอร์ซึ่งทาอยู่บนพื้นผิวยังไม่แห้ง หลังจากนั้นก็นำไปใส่ไว้ในห้องที่ตั้งค่าความชื้นไว้สูงโดยเฉพาะ และตากให้แห้งสนิท
แนะนำผลงาน
ทานิโอกะ คูมิโกะ
ผลงานที่คุณทานิโอกะมีความเชี่ยวชาญคือเครื่องประดับ เช่น ที่กลัดโอบิสำหรับชุดกิโมโน และเข็มกลัดติดเนคไท เธอได้นำวิธีการทำเครื่องเขินมาตกแต่งบนพื้นผิวของเครื่องประดับ และยกระดับสิ่งของใกล้ตัวให้เป็นงานศิลปะที่มีความงดงาม
เป็นชิ้นงานที่หายากอันงดงามที่เกิดจากการนำเอาทักษะของผู้เชี่ยวชาญและแลคเกอร์ของคิชูมาผสมผสานกัน งานศิลปะจำนวนมากที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเป็นรูปร่างด้วยการใช้นิ้วที่มีความละเอียดอ่อนของเธอ
ประวัติส่วนตัว
สาขาที่รับรอง
สาขาทั่วไป
ปีที่รับรอง
ปีเฮเซที่ 21 (ปี 2009)
เทคนิคที่เชี่ยวชาญ
เนโกโระนูริ, การเคลือบทาแลคเกอร์ด้วยวิธีแปลกๆ, การทำลวดลายด้วยวิธีที่เรียกว่าโทกิดาชิมากิเอะ
ผลงานที่สำคัญ
แจกันดอกไม้ เครื่องประดับ ถ้วยชาม
ภาพบรรยากาศในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
การฝังเปลือกหอย (ราเด็น)
การฝังเปลือกหอยมีด้วยกันหลายวิธี เช่น วิธีการฝัง วิธีการกด และวิธีการขุดแล้วใส่เข้าไป งานในขั้นนี้คือการลงแลคเกอร์ทับซ้ำๆ หลังจากที่ฝังเปลือกหอยเข้าไป จนกว่าแลคเกอร์จะมีความสูงเท่ากับบริเวณรอบๆ เปลือกหอย
การโรยผง
ใส่ผงโลหะ เช่น ผงทอง เข้าไปในกระบอกใส่ผง แล้วโรยลงบนบริเวณที่ทาแลคเกอร์ไว้เพื่อทำเป็นลวดลาย
การขูด
ขูดพื้นผิวเครื่องเขินด้วยถ่านสีดำเพื่อทำให้แลคเกอร์สีดำที่อยู่ชั้นกลางเป็นลวดลาย